วิทยาการ

การรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้นด้วยกล้ามเนื้อถ่างขยายทางเดินหายใจ

โรคหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (obstructive sleep apnea: OSA) เกิดจากทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นเป็นระยะๆในขณะหลับ สาเหตุหนึ่งมาจากกล้ามเนื้อถ่างขยายทางเดินหายใจส่วนบนหรือกล้ามเนื้อ genioglossus ไม่สามารถถ่างขยายทางเดินหายใจได้เพียงพอ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการรักษาวิธีใหม่ๆได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยปรับการทำงานของกล้ามเนื้อนี้ ได้แก่

  1. การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าที่ประสาทสมองคู่ที่สิบสอง (hypoglossal) ช่วยควบคุมกล้ามเนื้อถ่างขยายทางเดินหายใจ
  2. การใช้ยาปรับปรุงการตอบสนองการทำงานของกล้ามเนื้อ
  3. การฝึกกล้ามเนื้อบริเวณหน้าใบหน้าและคอ (myofunctional) ให้ช่วยถ่างขยายทางเดินหายใจขณะหลับ การรักษาเพื่อมุ่งเน้นถ่างขยายทางเดินหายใจโดยกล้ามเนื้อ genioglossus เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (พ.ย. 2562)

การผ่าตัดฝั่งเครื่องกระตุ้นที่เส้นประสาท hypoglossal ทั้งสองข้าง รักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (ใหม่)

การผ่าตัดฝั่งเครื่องกระตุ้นที่เส้นประสาททั้งสองข้างเพื่อทำการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นวิธีใหม่นี้ ทำให้การหายใจติดขัดลดลงจาก 23.7 เป็น 12.9 ครั้งต่อชั่วโมง จากการติตามผลเป็นเวลา 6 เดือนหลังผ่าตัด การนอนกรนลดลง ผู้ป่วยที่เข้าผ่าตัดจำนวน 27 คน อายุเฉลี่ย 55.9 ปี การผ่าตัดทำได้ง่ายมีวิธีการกระตุ้นที่ไม่ซับซ้อนได้ผลใกล้เคียงกับการผ่าตัดกระตุ้นเส้นประสาทข้างเดียวที่มีมาก่อนนี้ การผ่าตัดใหม่วิธีนี้นับได้ว่าน่าสนใจดำเนินการผ่าตัดในศูนย์การผ่าตัดแปดแห่งในประเทศ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายจากการผ่าตัด งานผ่าตัดนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Eur Respir J ปี 2019(พ.ย.2562)


การผ่าตัดฝั่งเครื่องกระตุ้นเส้นประสาท hypoglossal ทั้งสองข้าง

A. ทำการผ่าตัดฝั่งเครื่องกระตุ้นบริเวณใต้คางเพื่อกระตุ้นเส้นประสาท hypoglossal ทั้งสองข้าง

B. แผ่นกระตุ้นที่ติดไว้บริเวณผิวหนังด้านนอกส่งกระแสไฟฟ้ากระตุ้นเครื่องที่ฝั่งอยู่ด้านใน

สมาคมโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ
1558/50 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400
0863656314
info@apnea.or.th

Copyright © 2021 - Sleep Apnea Association. All rights reserved.